ไฟสัญญาณหลายชั้นแบบติดผนัง WE-LAN Series
ไฟสัญญาณหลายชั้นแบบติดผนัง WE-LAN Series ไฟสัญญาณหลายชั้นแบบติดผนัง WE-LAN Series ที่ใช้เครือข่ายเพื่อส่งสัญญาณได้หลากหลายตามสถานการณ์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัท PATLITE ได้เปิดตัวไฟสัญญาณหลายชั้นแบบติดผนัง รุ่น WE-LAN Series ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวนี้สามารถแสดงสถานะได้ผ่านเครือข่าย โดยในบทความนี้เราขอแนะนำคุณสมบัติและวิธีการใช้งานของผลิตภัณฑ์ WE-LAN Series >> แจ้งเตือนความผิดปกติของอุปกรณ์และเครื่องจักรด้วยสีและรูปแบบการแสดงไฟที่หลากหลาย เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นทั่วไป รุ่นใหม่นี้มีสีและรูปแบบการกระพริบที่หลากหลายจึงสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของอุตสาหกรรมและสถานการณ์ที่หลากหลาย โดยบทความนี้จะขอกล่าวถึงคุณสมบัติเด่นทั้ง 4 ประการได้ดังนี้ ■ ไฟสว่างและไฟกระพริบแบบเดียวกันในทุกขั้นตอน จึงทำให้สังเกตเห็นได้ทันที สามารถแสดงผลได้ชัดเจนกว่าการแจ้งเตือนแบบทั่วไปและในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดภัยพิบัติ การแสดงผลจะมีความชัดเจนมากขึ้นด้วยการกระพริบ จึงเหมาะสำหรับการแจ้งเตือนความผิดปกติของเครื่องจักรและการแจ้งเตือนในกรณีฉุกเฉิน รูปที่ 1 ไฟสว่างและไฟกระพริบแบบเดียวกัน ■ แยกการใช้งานได้ด้วยการแสดงผล 9 สี สามารถแยกการแจ้งข้อมูลได้ด้วยการแสดงผล 9 สี (แดง เหลือง เขียว น้ำเงิน ฟ้า ม่วง ชมพู เขียว […]
คลาสการป้องกันตามมาตรฐาน IEC สำหรับ Power Supply
รูปที่1 สัญลักษณ์มาตรฐานของ Class I, Class II, Class III. คลาสการป้องกันตามมาตรฐาน IEC สำหรับ Power Supply เราจะอธิบายกฎข้อบังคับในการป้องกันทางอิเล็กทรอนิกส์และวิธีแยกแยะว่า Power supply ของคุณอยู่ในประเภทใดและเพราะเหตุใด โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้ ความแตกต่างของคลาส IEC I, II และ III วิธีการใช้คลาส IEC การป้องกันในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแยกแยะระหว่างข้อกำหนดสายดินและการป้องกันของอุปกรณ์ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Class II Power supply และ NEC Class 2 คณะกรรมมาธิการเทคนิคไฟฟ้าระหว่างประเทศ (IEC) ได้กำหนดระดับความปลอดภัยสามระดับสำหรับอุปกรณ์จ่ายไฟ หรือที่รู้จักกันในชื่อประเภทอุปกรณ์หรือประเภทการป้องกัน สิ่งเหล่านี้ใช้เพื่อระบุและดำเนินการวิธีการที่ป้องกันผู้ใช้ Power supply จากอันตรายทางไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้น IEC PROTECTION CLASSES […]
Push-In Terminal Block แบบ Spring Lock
Push-In Terminal Block แบบ Spring Lock VTX Series VTX-1.5 ที่แรงดันไฟ 600V รองรับกระแสไฟฟ้า 5A ขนาดสาย AWG28-16 VTX-2.5 ที่แรงดันไฟ 600V รองรับกระแสไฟฟ้า 20A ขนาดสาย AWG26-12 VTX-4 ที่แรงดันไฟ 600V รองรับกระแสไฟฟ้า 30A ขนาดสาย AWG24-10 VTX-6 ที่แรงดันไฟ 600V รองรับกระแสไฟฟ้า 40A ขนาดสาย AWG20-8 VTX-10 ที่แรงดันไฟ 600V รองรับกระแสไฟฟ้า 60A ขนาดสาย AWG20-6 VTX-16 ที่แรงดันไฟ 600V รองรับกระแสไฟฟ้า 76A ขนาดสาย AWG20-4 […]
ส่วนประกอบ และวิธีการเลือก Terminal Block
ส่วนประกอบ และวิธีการเลือก Terminal Block ส่วนประกอบของ Terminal Block ในส่วนของการเลือกใช้งาน Terminal 1 Set จะประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนหลายชิ้นเข้าด้วยกัน คือ Body Unit เป็นส่วน Base ของตัว Terminal Block ในการเลือกใช้งาน มีหลายขนาดด้วยกันขึ้นอยู่กับขนาดสายไฟ กระแสที่ทนได้ และแรงดันไฟที่รองรับ End Plate คือส่วนที่ปิดด้านข้าง ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาของตัว Terminal Block เพื่อป้องกันกรณีที่เกิดความผิดพลาดจากมือไปโดนหรือการช๊อตกับอุปกรณ์อื่น มีให้เลือกใช้งานหลายขนาดเช่นกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและรุ่นของ Terminal Block ที่นำมาใช้งาน และไม่สามารถใช้ข้าม Series หรือข้ามแบรนด์อื่นได้ Name Plate ส่วนที่ใช้เขียนหรือปริ้นเพื่อบ่งชี้ว่า Terminal Block ตัวนั้นๆนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้กับอุปกรณ์อะไร เป็น Input หรือ Output เพื่อให้สะดวกในการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ Jumper ใช้เชื่อมต่อระหว่าง Terminal Block เข้าด้วยกัน ช่วยประหยัดการ Wiring มีให้เลือกใช้งานหลายขนาดเช่นกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและรุ่นของ Base […]
Terminal Block เมื่อไหร่ที่ควรใช้และเมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยน
Terminal Block เมื่อไหร่ที่ควรใช้และเมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยน ลูกค้าสามารถพิจารณาได้จากอายุการใช้งานและสภาพของ Terminal ตัวนั้นๆ ว่ามีการเสื่อมสภาพอย่างไร เช่น Terminal แตกหักเป็นบางจุด หรือเอามือไปกดตัว Terminal แล้วพลาสติกกรอบหรือเสียรูปร่างเดิมของมันไป เกิดรอยไหม้ มีกลิ่นหรือควัน นั่นคือข้อบ่งชี้ว่า เราควรจะเปลี่ยน Terminal ใหม่ได้แล้วนั่นเองครับ สำหรับ Terminal Block แบรนด์ TOYOGIKEN(TOGI) นอกจากรูปทรงสวยงามแล้ว ในการประกอบใช้งานจุดรอยต่อยังเรียบสนิทกัน อีกด้วย เนื่องจากวัสดุผลิตจากพลาสติกที่เหนียวเป็นพิเศษและมีความหนาพอสมควร จึงมีความทนทานต่อการใช้งาน อีกทั้งมีราคาถูก ทำให้ลูกค้าไม่ต้องกังวลเรื่องการแตกหักเสียหายแต่อย่างใด อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆนี้ ทำให้การ Wiring สายเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความเป็นระเบียบและความสวยงามแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการปฎิบัติงาน ทำให้งานของลูกค้ามีมาตราฐานมากยิ่งขึ้น หากท่านใดสนใจ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ บริษัท เค.พี.ที. แมชชีนเนอรี่ (1993) จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ TOYOGKENI(TOGI) อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย สำหรับท่านที่กำลังมองหาอุปกรณ์สำหรับงาน Wiring ตู้ไฟ หรือ ตู้คอนโทรล นี่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทางเราอยากแนะนำ บทความอื่นๆ […]
[FUJI] เปลี่ยนหน่วย PXF Temp Controller จากเซลเซียส (°C) เป็นฟาเรนไฮต์ (°F)
[FUJI] เปลี่ยนหน่วย PXF Temp Controller จากเซลเซียส (°C) เป็นฟาเรนไฮต์ (°F) ” FUJI Temperature Controller รุ่น PXF Series สามารถเปลี่ยนหน่วยการแสดงผลจากองศาเซลเซียส (Celsius : °C) เป็นหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ได้ (Fahrenheit : °F) ” Factory Default เดิมของ Temp Controller ใช้หน่วยวัด Celsius สามารถเปลี่ยนเป็น Fahrenheit ผ่านเมนู “Setting PVU : 534” ซึ่งถูกตั้งค่าซ่อนไว้จากโรงงาน จึงจำเป็นต้องปลดล็อคเพื่อแสดงเมนูก่อนจึงสามารถเปลี่ยนหน่วยได้ STEP 1 : การปลดล็อคเมนู “PVU : 534” 1. กดปุ่ม SEL ค้างไว้ 5 วินาที แสดงเมนู CH1 […]
[Weighing] บรรจุ(วัตถุดิบ)อย่างไรไม่ให้ขาดทุน!!?
[Weighing] บรรจุ(วัตถุดิบ)อย่างไรไม่ให้ขาดทุน!!? ” อุตสาหกรรมอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้งานเกี่ยวกับงาน Packing โดยเฉพาะงานบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆไม่ว่าจะเป็นอาหารสำหรับมนุษย์,อาหารสำหรับสัตว์,ธัญพืชทางเกษตรและอื่นๆ ผู้ผลิตจึงต้องใส่ใจถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และผลกำไรของผลิตภัณฑ์ด้วย เพื่อประหยัดต้นทุนและลดการขาดทุน ผู้ผลิตจึงมีการตรวจสอบภายใน process ในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตการแบบแบตช์(Batch) ให้ผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน และปริมาตรที่ได้ไม่ขาดและไม่เกินจนเกินไป ฉะนั้นกระบวนการบรรจุจึงเป็นสิ่งสำคัญของงาน packing” ก่อนที่จะมีการบรรจุนั้นเราต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการชั่งน้ำหนักใส่ถุงบรรจุ(Batch Weighing) ต้องได้ค่าน้ำหนักที่ถูกต้อง แม่นยำในการตัดต่อวาล์วสูง ลดการสั่นสะเทือนในขณะบรรจุ ผู้ผลิตจึงต้องเลือกIndicatorให้เหมาะสมกับลักษณะงานนี้ ซึ่งมีครบคุณสมบัติของ AD-4401A Weighing Indicator กับการฟังก์ชั่นการตั้งค่า Set point พร้อม Status display สำหรับแสดงสถานะเมื่อถึงค่า Set point ความหมายของ Status display สำหรับการชั่งแบบบรรจุ ดังนี้ FINAL = Final weight การชั่งเสร็จสิ้น F.FALL = Free fall (Small flow) วาล์วขนาดเล็กทำงาน PRELM = […]
หลักการคำนวณหาพิกัดน้ำหนักของ Load Cells
หลักการคำนวณหาพิกัดน้ำหนักของ Load Cells ” ปัญหาที่พบบ่อยตามโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปที่ต้องเปลี่ยนโหลดเซลล์บ่อยๆก็คือ โหลดเซลล์เสียหาย อันเนื่องมาจากการเลือกใช้พิกัดน้ำหนักของโหลดเซลล์ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของงาน ฉะนั้นการเลือกพิกัดน้ำหนักของ Load cell จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน “ หากเราเลือกโหลดเซลล์ที่มีพิกัดน้ำหนักน้อยเกินไป จะส่งผลกระทบกับตัวโหลดเซลล์เสียหาย หรือ ถ้าใช้พิกัดน้ำหนักมากเกินไปจะส่งผลให้ค่าน้ำหนักผิดพลาดได้ ซึ่งควรคำนวณหาค่าพิกัดน้ำหนักโหลดเซลล์ต่อตัวเสียก่อนที่จะเลือกซื้อโหลดเซลล์มาใช้งาน สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกในการคำนวณหาค่าพิกัดน้ำหนักโหลดเซลล์ นั่นก็คือ น้ำหนักที่ต้องการชั่ง เราต้องรู้ถึงความต้องการก่อนว่าเราต้องการชั่งอะไร,น้ำหนักที่ต้องการชั่งเท่าไหร่,ค่าความละเอียดน้ำหนักเท่าไหร่ เมื่อได้ค่าน้ำหนักที่ต้องการชั่งแล้ว เราต้องรู้ค่าน้ำหนักของภาชนะสำหรับชั่งด้วย(ค่าน้ำหนักของภาชนะที่ยังไม่ได้มีการโหลดน้ำหนักใดใด) แล้วนำค่าน้ำหนักที่ต้องการชั่งมารวมกับค่าน้ำหนักของภาชนะเปล่าจะได้ค่าน้ำหนักรวม เพื่อป้องกันความเสียหายจากแรงกระแทก เช่น ในกรณีที่มีการปล่อยของลงถัง(Load) และปล่อยออกจากถังุ (Unload) เราจึงต้องเผื่อค่ารับน้ำหนักประมาณ 2 เท่าของน้ำหนักรวม(ค่า safety factor) โดยนำค่าน้ำหนักรวมที่ได้มาคูณ จากนั้นเมื่อเราได้คำนวณค่าน้ำหนักทั้งหมดแล้ว นำมาหารด้วยจำนวนของโหลดเซลล์ที่เราต้องการใช้ติดตั้ง เช่น ขาถังฮอปเปอร์มี 4 ด้าน จำนวนที่ต้องการใช้คือ 4 ตัวนั่นเอง สรุปสูตรคำนวณ ดังนี้ ยกตัวอย่างเช่น ต้องการชั่งน้ำหนักทรายในถัง Hopper น้ำหนักทรายที่ต้องการชั่ง 800kg. ถัง Hopper หนัก 200kg […]
[PRAZI] แนะนำการดูสเปคของใบเกลียวลำเลียง
[PRAZI] แนะนำการดูสเปคของใบเกลียวลำเลียง สกรูลำเลียง(Screw Conveyor) เป็นอุปกรณ์เชิงกลที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับขนถ่ายวัสดุต่างๆ ส่วนมากจะนิยมใช้ในการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล เช่น แป้ง,ข้าว,ทรายแห้ง,ซีเมนต์, เม็ดพลาสติกและเมล็ดธัญพืชการเกษตร เป็นต้น สกรูลำเลียงจะมีชิ้นส่วนประกอบหลักที่สำคัญประกอบด้วย 3 อย่างหลักๆ คือ – รางตัวถังหรือท่อลำเลียง – ใบเกลียวสกรูขนถ่าย – ต้นกำลังขับหรือมอเตอร์ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในแนวระนาบหรือแนวลาดเอียง เช่น รางสกรูลำเลียง (Screw Chute Conveyor) ลำเลียงในแนวระนาบ ,ท่อสกรูขนถ่าย (Screw Pipe Conveyor) ลำเลียงในแนวลาดเอียง ขึ้นอยู่ว่าผู้ใช้งานต้องการลำเลียงวัสดุอะไร ในทิศทางไหน ใบเกลียวลำเลียงเป็นส่วนสำคัญของสกรูลำเลียง เพราะขนาดและระยะพิทของใบเกลียวมีผลต่อการลำเลียงวัสดุเป็นอย่างมาก ทิศทางการลำเลียงขึ้นอยู่กับการเลือกใช้แบบหมุนซ้ายหรือแบบหมุนขวา วัสดุของตัวใบเกลียวเลือกให้เหมาะสมกับวัสดุที่ใช้ ฉะนั้นการเลือกใบเกลียวที่ดีจะต้องรีดยาวตลอดเส้น ไม่มีรอยต่อ แข็งแรงทนทานและมีคุณภาพ เมื่อเลือกมาใช้งาน ช่างหรือวิศวกรจะพูดสเปคสั่นๆ เช่น ใบเกลียว4นิ้ว หรือ ใบเกลียว4นิ้ว 102 ยาว3เมตร หลายท่านที่ยังไม่รู้วิธีการดูสเปคอาจจะไม่เข้าใจขนาดของใบเกลียวนั้นเท่าไหร่ วิธีการดูสเปคไม่ยาก เพียงเข้าใจรายละเอียดของใบเกลียว มีความหมายอย่างละเอียด ดังนี้ OD(Inch.) […]
[IMV] ทำไมเราจำเป็นต้องวัดการสั่นสะเทือน?
[IMV] ทำไมเราจำเป็นต้องวัดการสั่นสะเทือน? การแข่งขันทางธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและความต้องการของตลาด ทำให้การผลิตสินค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ใช้งานตลอดเวลาไม่มีการหยุดพัก นานวันจะทำให้เครื่องจักรทรุดโทรมหรือเสียหายได้ไม่ว่าจะมีอาการเสียงดังผิดปกติ,สั่นสะเทือน,ความร้อนและอื่นๆที่เกิด ส่งผลให้สภาพแวดล้อมและสภาพจิตของพนักงานแย่ลง จนกระทั่งเมื่อเครื่องจักรเกิดการ Breaks Down หรือพังเสียหาย ผลกระทบที่ได้รับอันดับแรกเลย นั้นก็คือ “เสียเงินก้อนใหญ่” คุณต้องใช้จ่าย เงินมากมายเพื่อทำการซ่อมแซมเครื่องจักรและอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆมากขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว เช่น ค่าอะไหล่, ค่าเเรงทีมงานช่างซ่อม เป็นต้น เมื่อใช้จ่ายค่าซ่อมแซมแล้วมาควบคู่กับ “ใช้เวลาในการซ่อมบำรุง” แน่นอนว่าการซ่อมบำรุงต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควรที่จะตรวจสอบหาสาเหตุของอาการเสียของเครื่องจักร หาอะไหล่ซ่อมแซม หาทีมงานซ่อม วางแผนการซ่อม ซึ่งอาจจะเพิ่มเวลาให้มาขึ้นไปอีก ทำให้เสียเวลาในการผลิตและเสียรายได้ ซึ่งผลกระทบโดยภาพรวมคือ“โอกาสในการทำกำไรน้อยลง”ถ้าเกิดการหยุดผลิตสินค้าไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม กำไรที่ได้จากสินค้าลดลงเพราะต้นทุนสินค้าต่อชิ้นมีราคาสูงขึ้น ป้องกันเครื่องจักรของคุณก่อนที่จะได้เกิดปัญหาเหล่านี้ และผลกระทบที่ตามมาอย่างไม่คาดคิดด้วยเครื่องมือวัดการสั่นสะเทือน ช่วยให้การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISO 10816-3: 2009(ISO Vibration Evaluation Standard) มาตรฐานนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ของเครื่องจักรที่มีการหมุน (rotational machinery) โดยค่าสัมบูรณ์ของความเร็วเพื่อบอกระดับความผิดปกติของการสั่นสะเทือน ที่สำคัญค่าที่วัดได้ต้องมีแม่นยำสูง,เที่ยงตรงและได้มาตรฐาน ข้อดีของการวัดการสั่นสะเทือน การบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบคาดการณ์ล่วงหน้าและใช้กันอย่างแพร่หลายโดยการใช้เครื่องมือต่างๆ แต่การวัดความสั่นสะเทือนคือวิธีการที่นิยมมากที่สุด เหมาะที่สุดสำหรับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆเนื่องจากมีความไวสูง ให้ข้อมูลทางเทคนิคจำนวนมากทำให้ง่ายต่อการกำหนดวิธีการวิเคราะห์ ต้นทุนต่ำและติดตั้งง่าย STEP 2 : การใช้งาน WinGP […]